แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 - 2564
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและเป็นธรรม
กลยุทธ์ที่ 1.1 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ให้ฐานทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการส่งเสริมทั้งการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์อย่างสมดุล เป็นธรรม และเกิดความมั่นคง
1 ประกาศใช้แผนที่แนวเขตพื้นที่ป่าที่มีแนวเขตเดียวกัน (One Map) และจำนวนพื้นที่จัดที่ดินทำกินให้ชุมชน (เพิ่มขึ้น)
2 ร้อยละของพื้นที่การถือครองที่ดินแต่ละประเภทเทียบกับพื้นที่ทั้งประเทศ (เพิ่มขึ้น)
3 พื้นที่ที่มีสภาพป่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ แบ่งเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ร้อยละ 25 และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจร้อยละ 15
4 ระดับการดำเนินงานการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ IWRM (ดัชนี 0 - 100) (เพิ่มขึ้น)
5 ร้อยละของพื้นที่ดินที่ถูกทำให้เสื่อมโทรมเทียบกับพื้นที่ดินทั้งหมด (ลดลง)
6 ชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะได้รับการจัดการตามแนวทางและมาตรการ หรือมีโครงสร้างที่เหมาะสม (เพิ่มขึ้น)
7 ปะการังที่มีชีวิตมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 - 9
8 อัตราการจับสัตว์น้ำต่อการลงแรงประมงทะเล (Catch Per Unit Effort: CPUE) ใน 1 ชั่วโมง ในน่านน้ำไทย (เพิ่มขึ้น)
9 ยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
10 อัตราการสูญเสียชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น และแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ (ลดลง)
11 สัดส่วนเรื่องร้องเรียนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการดำเนินการ (เพิ่มขึ้น)
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
1.1.1.1 ป้องกันการบุกรุกทำลายป่า โดยดำเนินการตามแผนปฏิบัติการพื้นที่เป้าหมายป้องกันและปราบปรามการลักลอบบุกรุกป่า (Area of Operation: AO) เพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ | |
1.1.1.2 เพิ่มประสิทธิภาพการนำนโยบายการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำมาใช้เป็นเครื่องมือประกอบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ และดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อเสนอมาตรการการใช้ที่ดินในเขตชั้นคุณภาพลุ่มน้ำอย่างเคร่งครัด เพื่ออนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้และรักษาสมดุลของระบบนิเวศลุ่มน้ำ | |
1.1.1.3 ส่งเสริมการบริหารจัดการพื้นที่ป่าที่เป็นลักษณะกลุ่มป่าหรือผืนป่า (Forest Complex) ที่สามารถรวมกันเป็นผืนป่าขนาดใหญ่และเชื่อมต่อเนื่องกัน เพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศป่าไม้ พร้อมกำหนดแนวกันชนพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าสงวนให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายป่า โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน | |
1.1.1.4 ส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้และพื้นที่แนวกันชน รวมถึงส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชุมชน พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ โดยเฉพาะการปลูกป่าตามหลักการฟื้นฟูป่าตามธรรมชาติ (Natural Reforestation) และการปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง | |
1.1.1.5 ส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง หรือมีระบบตัดฟันยาวที่ถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับพื้นที่ที่อยู่นอกเขตพื้นที่ ป่าไม้และพื้นที่ของเอกชน โดยให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ควบคู่กับส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อสามารถระบุแหล่งกำเนิดของไม้ และป้องกันการลักลอบนำไม้ออกจากป่า |
1. กิจกรรมส่งเสริมเกษตรกรปลูกบำรุงไม้เศรษฐกิจ |
1.1.1.6 ให้สิทธิชุมชนเข้าใช้ประโยชน์จากป่า โดยคำนึงถึงความเปราะบางของระบบนิเวศ ขีดจำกัด และศักยภาพในการ ฟื้นตัว เพื่อให้ชุมชนมีความรู้สึกหวงแหน เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และมีการปลูกป่าเพิ่มขึ้น ตามหลักการ ผู้ได้รับประโยชน์จากป่าเป็นผู้ที่ดูแลป่า | |
1.1.1.7 บูรณาการงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและด้านการใช้ที่ดินทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อลดกิจกรรมที่ทำลายทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ |
1. ๑.โครงการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าจังหวัดบุรีรัมย์ 2. โครงการจัดการปัญหาที่ดินทำกินคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ 3. โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริและกิจการพิเศษของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (จังหวัดบุรีรัมย์) 4. โครงการจัดการปัญหาที่ดินทำกิน ภายใต้คณะอนุกรรมการที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด) |
1.1.1.8 เร่งจัดทำฐานข้อมูลและกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่าสงวน ป่าอนุรักษ์ และป่าเศรษฐกิจ ครอบคลุมทั่วประเทศให้ชัดเจน และมีแนวเขตเดียวกัน (One Map) ที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมประกาศแสดงแนวเขตป่าให้ประชาชนทราบ เพื่อลดข้อขัดแย้งเรื่องแนวเขตรัฐ และเป็นการป้องกันมิให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าของประเทศ | |
1.1.1.9 ปรับปรุง แก้ไข และผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะ ร่างพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า พ.ศ. .... ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว | |
1.1.1.10 สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกทำลายและเผาป่า โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมหลายช่วงเวลา กำหนดพื้นที่เสี่ยง และตรวจหาตำแหน่งจุดความร้อน เพื่อตรวจสอบความเสี่ยงจากการถูกเผาป่า รวมถึงตรวจสอบความร้อนและแห้งแล้งของพื้นที่เสี่ยงจากปัจจัยสภาพพื้นที่ ต้นไม้ แหล่งน้ำ สถิติไฟไหม้ในอดีต และนำมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า |
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
1.1.2.1 อนุรักษ์ และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ และแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อให้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำได้เต็มศักยภาพในการรองรับปริมาณน้ำ ชะลอน้ำ และลดปริมาณช่วงน้ำหลาก รวมถึงเป็นแหล่งน้ำของชุมชนไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง และบรรเทาอุทกภัยในฤดูฝน | |
1.1.2.2 ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำที่มีอยู่เดิม และลำน้ำที่ตื้นเขิน โดยปรับปรุงทางระบายน้ำ และขจัดสิ่งกีดขวาง ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพของแหล่งน้ำ รวมถึงปรับปรุงคันกั้นน้ำ ฝายทดน้ำ และประตูระบายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพในการระบายน้ำ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน | |
1.1.2.3 สำรวจพื้นที่กักเก็บน้ำผิวดินที่มีศักยภาพและเหมาะสม เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำเป็นแก้มลิง สำหรับไว้ใช้ในการอุปโภค บริโภค โดยใช้พื้นที่สาธารณะของชุมชนให้เป็นแหล่งน้ำชุมชน รวมถึงเป็นการรองรับน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม | |
1.1.2.4 พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ แบบบูรณาการและเป็นระบบ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยมีคณะกรรมการลุ่มน้ำร่วมจัดทำแผนการบริหารจัดการลุ่มน้ำ เพื่อกำหนดนโยบายและกติกาการจัดสรรน้ำต้นทุน (น้ำผิวดิน น้ำบาดาล หรือทุกแหล่งน้ำ) และระบบชลประทานให้เหมาะสม รวมถึงสอดคล้องกับศักยภาพของลุ่มน้ำ รวมทั้งมีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมสำคัญ ที่ส่งผลกระทบในระดับลุ่มน้ำ ตลอดจนกำกับดูแล ติดตาม ประเมินผล และขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ | |
1.1.2.5 เร่งรัดผลักดันให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ เพื่อเป็นกฎหมายในการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ และเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง และการจัดสรรน้ำให้มีประสิทธิภาพ | |
1.1.2.6 เร่งผลักดันให้มีการศึกษา สำรวจ ประเมินศักยภาพ พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน |
1. โครงการสำรวจบ่อบาดาลเดิมที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของชั้นน้ำบาดาลทั่วประเทศ |
1.1.2.7 สนับสนุนระบบผันน้ำ ระบบเชื่อมโยงแหล่งน้ำภายในระหว่างลุ่มน้ำ และระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาในการรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ และพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมด้านอุทกวิทยา สภาพภูมิศาสตร์ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ควบคู่กับการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก แหล่งน้ำในไร่นา และแหล่งน้ำบาดาล รวมทั้งขยายพื้นที่ชลประทานให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีศักยภาพ พร้อมทั้งปรับปรุงและพัฒนาระบบชลประทานให้มีประสิทธิภาพ สามารถจัดสรรน้ำสำหรับภาคชุมชน เกษตร อุตสาหกรรม และบริการได้อย่างเพียงพอ | |
1.1.2.8 พัฒนาระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำจากผู้ใช้น้ำ เพื่อรองรับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ | |
1.1.2.9 สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการใช้ทรัพยากรน้ำ เพื่อให้ผู้ใช้น้ำเกิดการยอมรับและมีความยินดีที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้น้ำบางส่วนจากผู้รับบริการ เพื่อเพิ่มความรับผิดชอบ ในการจัดการทรัพยากรน้ำ |
1. โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านการกำกับ ดูแลการประกอบกิจการน้ำบาดาล ฯ กิจกรรม ที่ 4 การเสริมสร้างและพัฒนาน้ำบาดาลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน |
1.1.2.10 สนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและจัดเก็บรวบรวบข้อมูลการใช้น้ำของประชากรในลุ่มน้ำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ครอบคลุมภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ และชุมชน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ/น้ำบาดาลในแต่ละกิจกรรม โดยผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
1.1.3.1 เร่งรัดการฟื้นฟูและปรับปรุงดินที่มีปัญหาและเสื่อมโทรมให้มีคุณภาพที่ดี เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ของดิน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์พื้นที่ได้อย่างเหมาะสมกับศักยภาพของดิน โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม | |
1.1.3.2 ส่งเสริมให้ลดการใช้สารเคมีในพื้นที่สูงและพื้นที่ต้นน้ำ ควบคู่กับส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ และใช้มาตรการการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน | |
1.1.3.3 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินทำกินของเกษตรกรและการจัดที่ดินให้แก่ชุมชนในรูปแปลงรวมตามสภาพพื้นที่และตามเขตการปกครอง โดยมิให้กรรมสิทธิ์ แต่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐในลักษณะเป็นกลุ่มหรือชุมชน พร้อมกำหนดระยะเวลาการมีสิทธิ และมีการตรวจสอบคุณสมบัติการถือครองที่ดินเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการซื้อ - ขายเปลี่ยนมือ | |
1.1.3.4 ส่งเสริมการนำที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ต่อประเทศ รวมทั้งปกป้องที่สาธารณะประโยชน์ เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรดินมีประสิทธิภาพ | |
1.1.3.5 พัฒนาเครื่องมือและกลไก โดยเฉพาะกฎหมาย โครงสร้าง และองค์กรในการบริหารจัดการที่ดินที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายที่ดินในภาพรวม และกลไกการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้มีเอกภาพ และประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ | |
1.1.3.6 ปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการที่ดิน โดยคำนึงถึงความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และผลักดันให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมถึงสนับสนุนการออกกฎหมายที่ให้สิทธิแก่ประชาชนในการเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐได้ | |
1.1.3.7 สนับสนุนการใช้เครื่องมือเศรษฐศาสตร์และมาตรการจูงใจเพื่อให้มีการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรม โดยตราภาษีมูลค่าส่วนเพิ่ม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและการคืนทุนจากการลงทุนในการพัฒนาที่ดิน และป้องกันการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม | |
1.1.3.8 กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายผังเมืองให้สอดคล้องกับศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ รวมถึงเหมาะสมกับคุณสมบัติของดิน สภาพทางธรณีวิทยา สภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ สภาพเศรษฐกิจและสังคม และสภาพภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะเส้นทางน้ำ | |
1.1.3.9 กำหนดเขตการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มในพื้นที่น้ำจืด เพื่อป้องกันความเสียหายต่อระบบนิเวศน้ำจืด และความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม | |
1.1.3.10 จัดทำฐานข้อมูลแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับ และปรับข้อมูลแนวเขตที่ดินของรัฐ โดยให้มีกฎหมายรองรับ และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลการถือครองที่ดินของเอกชน เพื่อให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน (Digital) | |
1.1.3.11 พัฒนาระบบโครงข่ายข้อมูลที่ดินและทรัพยากรดิน ข้อมูลศักยภาพทรัพยากรธรรมชาติ ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ รวมทั้งข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นศูนย์รวบรวม จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลด้านที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ | |
1.1.3.12 สนับสนุนการใช้เครื่องมือและกลไกที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมาย การพัฒนาฐานข้อมูลการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติ และเครือข่ายการตรวจสอบโดยองค์กรภาคประชาชน เพื่อสร้างความยั่งยืนการใช้ประโยชน์ที่ดิน |
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
1.1.4.1 อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และป่าชายเลนที่มีคุณค่าต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะปะการัง หญ้าทะเล และสิ่งมีชีวิตบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทางทะเล และคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีคุณค่า |
1. การพัฒนาแปลงอนุบาลปะการังสำหรับการคัดเลือกชิ้นส่วนปะการังที่มีความทนต่อสภาวะแวดล้อมที่มีความเครียดสูงจากบริเวณที่ตื้นของเขตพื้นราบ 2. การใช้ไม้โกงกางเทียมซีออส บรรเทาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านบางเนียง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืน 3. การฟื้นฟูแนวปะการัง อ่าวป่าตอง จังหวัดภูเก็ต 4. การศึกษาชีพลักษณ์และการเก็บอนุรักษ์พันธุกรรมพืชป่าชายเลนของไทยในสภาพปลอดเชื้อ |
1.1.4.2 อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเลให้ยั่งยืน โดยรักษาและฟื้นฟูชายหาดให้เป็นแนวกันชนธรรมชาติระหว่างพื้นบกและพื้นทะเล รวมถึงป้องกันความเสื่อมโทรมของชายหาด หาดหิน และหาดเลน เพื่อคงไว้ซึ่งคุณค่าทางระบบนิเวศ และความสวยงาม | |
1.1.4.3 อนุรักษ์สภาพแวดล้อมบริเวณชายฝั่งทะเลและเกาะ เพื่อให้การพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน โดยควบคุม ดูแลการบริหาร และการพัฒนา มิให้เกิดผลเสียหายต่อบริเวณชายฝั่งทะเลและทรัพยากรชายฝั่งทะเลทุกประเภท และรักษาฟื้นฟูชายหาด รวมทั้งจัดระเบียบชายหาดให้สอดคล้องกับหลักการผังเมือง |
1. ความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรชายฝั่งภูเก็ตเพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน |
1.1.4.4 จัดทำพื้นที่อนุรักษ์เพื่อคุ้มครองระบบนิเวศที่สำคัญ ควบคู่กับยกเลิกโครงการที่ทำลายระบบนิเวศและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณชายฝั่งที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ | |
1.1.4.5 สนับสนุนมาตรการที่เข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนที่ผิดกฎหมาย และให้มีการคุ้มครองพื้นที่ปากแม่น้ำที่สำคัญ เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน | |
1.1.4.6 กำหนดเขต และหลักเกณฑ์การควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินชายฝั่งทะเล ที่ใต้น้ำทะเล และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้สอดคล้องกับศักยภาพในการรองรับ เพื่อป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และลดข้อขัดแย้งการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ | |
1.1.4.7 ปรับปรุงกฎหมายและกำหนดแนวเขตอนุรักษ์ป่าชายเลนให้ชัดเจน ตลอดแนวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย รวมทั้งจัดทำแผนที่แนวเขตให้ชัดเจน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการป่าชายเลนให้เป็นระบบและต่อเนื่อง | |
1.1.4.8 ส่งเสริมการประเมินทรัพยากรประมง (Fisheries Stock Assessment) เพื่อใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับศักยภาพ การทำประมงที่คำนึงถึงความสมดุลของทรัพยากร สัตว์น้ำ และระบบนิเวศ และสอดคล้องกับหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งจำกัดและยกเลิกเครื่องมือประมงที่ทำลายล้าง และป้องกันไม่ให้เรือประมงเถื่อนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศเข้ามาทำการประมงที่ผิดกฎหมาย | |
1.1.4.9 กำหนดและจำแนกเขตพื้นที่ที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ตามระดับความรุนแรงและความเร่งด่วนของปัญหา หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต เพื่อใช้กำหนดมาตรการการป้องกันและแก้ไขพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดการก่อสร้างที่ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง | |
1.1.4.10 กำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | |
1.1.4.11 ปรับปรุงการออกแบบและมาตรฐานการก่อสร้างเขตชุมชน อุตสาหกรรมและโครงสร้างพื้นฐานบริเวณชายฝั่งทะเล โดยคำนึงถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสมุทรศาสตร์และปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในภาพรวม | |
1.1.4.12 สร้างและใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างประเทศโดยเฉพาะกรอบความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียน เอเปค และความร่วมมือภายใต้อนุสัญญาต่างๆ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการปกป้อง รักษา และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล |
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
1.1.5.1 สงวนทรัพยากรแร่ที่มีศักยภาพเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ในระยะยาว และมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เพื่อสงวนไว้ใช้ในอนาคต | |
1.1.5.2 ส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์แหล่งเรียนรู้ธรณีวิทยาและซาก ดึกดำบรรพ์ของประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ/หรืออุทยานธรณี โดยการมีส่วนร่วม | |
1.1.5.3 พัฒนาและกำหนดหลักเกณฑ์ รูปแบบและแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมในเขตเศรษฐกิจแร่ให้ชัดเจน และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน | |
1.1.5.4 เร่งรัดสำรวจการจัดทำเขตศักยภาพแร่และเขตเศรษฐกิจแร่ทั้งประเทศให้แล้วเสร็จ เพื่อกำหนดมาตรการการอนุรักษ์ทรัพยากรแร่ ให้มีการนำแร่มาใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสมและจำเป็น และเตรียมความพร้อมของพื้นที่ให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน | |
1.1.5.5 พัฒนาฐานข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลทรัพยากรแร่กับข้อมูลด้านอื่น โดยเฉพาะด้านสุขภาพ รวมถึงสร้าง ช่องทางการเผยแพร่ข้อมูล และการรายงานผลการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่อย่างคุ้มค่า โดยสนับสนุนให้สาธารณชนมีส่วนร่วม รวมทั้งพัฒนาให้เป็นศูนย์ข้อมูลกลางที่ทันสมัย เข้าถึงได้สะดวก และให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ | |
1.1.5.6 สร้างกลไกเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของท้องถิ่นและชุมชนในการติดตาม ตรวจสอบ และดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการทำเหมืองแร่ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยคำนึงผลกระทบจากการพัฒนาทรัพยากรแร่ต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน | |
1.1.5.7 พัฒนาเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการจูงใจ เพื่อกำกับ ควบคุมการบริหารจัดการเหมืองแร่ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้ รวมถึงเร่งสร้างมาตรการกำกับ ดูแลและชดเชยค่าเสียหาย ตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย อย่างเป็นธรรม | |
1.1.5.8 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม รวมถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรแร่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แร่เป็นวัตถุดิบ ควบคู่กับการสนับสนุนและจูงใจให้ใช้วัสดุทดแทนแร่ |
แนวทางการปฏิบัติ | ผลการดำเนินงาน |
---|---|
1.1.6.1 อนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง รวมทั้งชนิดพันธุ์สัตว์และพืชเฉพาะถิ่น สัตว์และพืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ ให้เป็นฐานทรัพยากรที่มั่นคง ควบคู่กับลดภัยคุกคามต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และพันธุกรรมของพืชและสัตว์จากการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการเบิกป่าเพื่อปลูกพืชเชิงเดี่ยว | |
1.1.6.2 อนุรักษ์พันธุกรรมในรูปแบบธนาคารพันธุกรรม โดยให้ความสำคัญกับพันธุกรรมท้องถิ่นที่มีคุณค่าต่อระบบนิเวศ และ/หรือมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมเชื้อพันธุ์และองค์ความรู้สำหรับใช้ประโยชน์ในอนาคต และคงความหลากหลายทางพันธุกรรม | |
1.1.6.3 พัฒนากลไกในการอนุรักษ์พื้นที่ที่มีความสำคัญ พื้นที่เสี่ยงต่อการถูกคุกคาม และพื้นที่ที่มีความเปราะบางเชิงนิเวศ เพื่อลดอัตราการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ และดำเนินการฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมให้สามารถดำรงไว้ซึ่งความสามารถในการให้บริการของระบบนิเวศอย่างยั่งยืน | |
1.1.6.4 พัฒนากลไก และกฎระเบียบในการปกป้อง คุ้มครอง และฟื้นฟูชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่น และชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามตามทะเบียนชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย เพื่อคงความหลากหลายทางชีวภาพของชนิดพันธุ์ ความสมบูรณ์และการให้บริการทางนิเวศ | |
1.1.6.5 ส่งเสริมมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงพัฒนาและบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองและการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าให้ครอบคลุมสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันการคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพ | |
1.1.6.6 พัฒนากฎระเบียบ และมาตรการในการกำกับดูแลสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และการคุ้มครองความปลอดภัยทางชีวภาพจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เพื่อป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงผลกระทบข้ามพรมแดน | |
1.1.6.7 ปรับปรุงกฎระเบียบ และกลไกในการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเข้าถึงการใช้ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียม เป็นธรรม และยั่งยืน พร้อมทั้งกำหนดมาตรการการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม | |
1.1.6.8 ศึกษา สำรวจ และวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศที่มีความสำคัญ ทั้งในและนอกพื้นที่คุ้มครอง รวมถึงพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และพื้นที่วิกฤตทางความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อพัฒนาและเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลให้ได้มาตรฐาน สะดวกต่อการเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ | |
1.1.6.9 พัฒนางานวิจัย องค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรชีวภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงให้มีการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการให้บริการของระบบนิเวศต่างๆ | |
1.1.6.10 ส่งเสริมการพัฒนาและการใช้แนวคิดผู้ได้รับผลประโยชน์เป็น ผู้จ่าย (Beneficiaries Pay Principle: BPP) โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดการเก็บค่าบริการเชิงนิเวศ (Payment for Ecosystem Services: PES) ในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อจ่ายค่าตอบแทนคุณค่าและการบริการของระบบนิเวศ และเพื่อให้เกิดการคุ้มครองระบบนิเวศที่มีความสำคัญอย่างเป็นรูปธรรม | |
1.1.6.11 ส่งเสริมงานวิจัยทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนให้มีบทบาทในการนำทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพมาพัฒนา เพื่อใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ | |
1.1.6.12 ปรับปรุงรายชื่อพันธุ์ไม้หวงห้าม เพื่อให้ภาคเอกชน และภาคประชาชนสามารถปลูกป่าเศรษฐกิจและลดแรงกดดันต่อพื้นที่ป่าไม้ |